วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

m16

ปืนเอ็ม 16 เป็นปืนเล็กยาวที่กองทัพบกสหรัฐอเมริกากำหนดขึ้น โ
ดยเรียกชื่อไล่จาก Armalite AR-15  เป็นปืนเล็กยาวจู่โจมที่ยิงด้วยกระสุนขนาด 5.56 x 45 mm. NATO   ที่ออกแบบโดยนาย Eugene Stoner ในปีค.ศ. 1950
 เดิมใช้เป็นปืนเล็กยาวประจำกายของทหารในกองทัพบกและกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967  โดยเข้าประจำการแทนปืน M14 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.62x51 mm. NATO (.308 Winchester)
และยังใช้กันอยู่ในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การ NATO ทั้ง 15 ประเทศมาจนถึงปัจจุบัน ปืน M16 เป็นปืนที่มีน้ำหนักเบา บรรจุกระสุนในซองกระสุน (Magazine) บริหารกลไกด้วยด้วยระบบแรงดันก๊าซ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
วัสดุที่ใช้ผลิตปืนผสมผสานทั้งเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และพลาสติก ปืน M16 นี้พัฒนาขึ้นโดยกองทัพบกสหรัฐฯ  ในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่ได้นำไปประเดิมใช้เป็นครั้งแรกในสงครามเวียดนาม

  ซึ่งแต่เดิมนั้น ปืน M16 ออกแบบและผลิตโดยบริษัทอาร์มาไลต์ (Armalite) ในปีค.ศ.1958
โดยเรียกว่าปืนรุ่นนี้ว่า AR-15 สำหรับปืนไรเฟิลอัตโนมัติ AR-15 นี้เป็นปืนไรเฟิลซ้อมยิงที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปืน M16 ในปัจจุบันนี้ และได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธปืนประจำกายของหน่วยแพทย์ทหารเสนารักษ์และ หน่วยสนับสนุนการรบต่างๆในช่วงสงครามเกาหลีด้วย

แต่เนื่องจากตัวปืนนั้นมีปัญหาเรื่องลำกล้องปืนมักจะบวมและแตกร้าวเมื่อมี การยิงต่อเนื่องนานๆ จึงทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาน้อยมาก
  

  ต่อมาเมื่อบริษัท Armalite ได้ขายแบบแปลนปืน AR-15 ให้แก่บริษัทโคลต์ (Colt Firearms)
ปืน AR-15 ก็ได้รับการพัฒนาจนออกมาเป็นปืน M16  และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯในปีค.ศ.1964
 ส่วนทางกองทัพบกสหรัฐฯก็ได้นำปืน M16 มาพัฒนาต่อเป็นปืน XM16E1 ซึ่งได้เพิ่มระบบคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) เข้ามาและเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ""US Rifle, 5.56mm, M16A1"

  ในปีค.ศ. 1967 และยังมีการเปิดสายการผลิตปืน M16 ในรูปแบบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก ต่อมาในปีค.ศ. 1981 บริษัทโคลต์จึงได้พัฒนาและปรับปรุงปืน M16A1 จนออกมาเป็นปืน M16A1E1 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่นใหม่คือกระสุน M855 Ball หรือ SS-109 ซึ่งมีความแม่นยำและอานุภาพทำลายล้างมากกว่าเดิม
  จนในปีค.ศ. 1982 หน่วย US Department of Defense (US DoD)จึงได้บรรจุปืน M16 รุ่นนี้เข้าประจำการและเรียกในชื่อใหม่ว่า "US Rifle, 5.56mm, M16A2" ซึ่งปืน M16A2 นี้สามารถยิงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ครั้งละ 1 นัด/ครั้ง และแบบอัตโนมัติชุดละ 3 นัด (Burst Auto) โดยมีคันบังคับการยิงให้จัดเลือกอยู่ทางด้านซ้ายเหนือด้ามปืน
  ซึ่งต่างจากปืน M16A1 ตรงที่แบบอัตโนมัติของรุ่น A1 จะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) กล่าวคือปืนจะทำการยิงตามวงรอบการทำงานไปเรื่อยๆ  จนกว่าผู้ยิงจะเลิกเหนี่ยวไกปืนหรือจนกว่ากระสุนจะหมดซองกระสุน มิใช่ยิงเป็นชุดเพียง 3 นัดเท่านั้น ไม่ว่าผู้ยิงจะเหนี่ยวไกค้างไว้หรือไม่ก็ตาม

  ในปีค.ศ. 1994 ทางบริษัทโคลต์ได้มีการปรับปรุงสมรรถภาพของปืน M16A2 อีกครั้ง
เป็นรุ่น A3 และ A4 ตามลำดับ โดยปืน M16A3 นั้นสามารถยิงได้สองโหมดคือ
 -ยิงทีละนัด (Semi-Auto)
 -ยิงอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto)

ส่วนปืน M16A4 นั้นรูปร่างก็มิได้แตกต่างไปจากรุ่น A3 เพียงแต่จะยิงได้สองโหมดนี้คือ
 -โหมดยิงทีละนัด (Semi-Auto)
 -แบบอัตโนมัติชุดละ3นัด (Three-Burst Auto)
โดยทั้งรุ่น A3 และ A4 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ A2 ทุกประการแต่สามารถถอดด้ามหูหิ้ว
(Flat Top Recceiver) ออกเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ ในขณะที่ A2 จะเป็นแบบติดตั้งตายตัว

  ในช่วงทศวรรษ 1980 ปืน M16A1 ติดขาทรายและปืนกลเบา M60 จะถูกแทนที่ด้วยปืนกลเบา SAW M249 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่น M855 Ball เ
ช่นเดียวกับปืน M16A2 เพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธและลดภาระในการจัดส่งกระสุนและเสบียงเข้าสู่สนาม รบของหน่วยพลาธิการ
  ครั้นถึงทศวรรษ 1990 ปืน M16A2 จำนวนมากเริ่มถูกแทนที่ด้วยปืน M4 Carbine ซึ่งปรับปรุงมาจากปืน M16 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวในการรบในที่แคบหรือในอาคารต่างๆ

                                   ลักษณะโดยทั่วไป

  ปืน M16 โดยทั่วไปผลิตชิ้นส่วนขึ้นจากวัสดุต่างๆดังนี้คือ
-ปลอกลดแสง
-ลำกล้อง
-โครงปืน
 และชิ้นส่วนในระบบลั่นไกผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียมทำให้ระบายความร้อนได้เร็ว
และมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง ในส่วนของพานท้ายและฝาครอบ ลำกล้องทำจากพลาสติกไฟเบอร์ทนความร้อน   ทำให้ปืน M16 รุ่นแรกๆ นั้นมีน้ำหนักเบาเพียง 3.60 กิโลกรัมเท่านั้น
(น้ำหนักปืนพร้อมแมกกาซีน 30 นัด) ซึ่งเบากว่าปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นก่อนๆอย่างปืน M14 ถึง 30%
  ในขณะที่ปืนอาก้า (AK-47)  จากรัสเซียที่นิยมกันในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นมีน้ำหนักถึง 4.30 กิโลกรัม แต่ปืน M16 รุ่นหลังจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 3.77 กิโลกรัมเท่านั้น
  เนื่องจากการออกแบบให้ลำกล้องและโครงปืนมีความแข็งแรงมากขึ้นจึงทำให้ น้ำหนักมากตามไปด้วย โดยตั้งแต่ปืน M16A2 เป็นต้นไปจะมีการออกแบบให้ปลอกลดแสงมีรูระบายเพียง 3 รูเท่านั้นเพื่อให้แรงดันก๊าซกดปากกระบอกมิให้เชิดหัวขึ้นเวลาทำการยิง

 เพื่อต้องการความแม่นยำสูงขึ้น และมีความยาวของปืนเพิ่มเป็น 40 นิ้ว (1.06 เมตร) มีลำกล้องยาว 20 นิ้ว(508 มิลลิเมตร) ปืนยิงลูกระเบิดชนิดติดตั้งใต้ลำกล้อง (Underbarrel Grenade Launcher) ขนาด 40 มม. M203 ปืน M4A1 ที่ได้รับการติดตั้งปืนยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. M203A1
พร้อมชุดเครื่องเล็งประณีต โดยปืน M16/M4 นั้นสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น ปืนยิงลูกระเบิดชนิดติดตั้งใต้ลำกล้อง (Underbarrel Grenade Launcher) ขนาด 40 มม. M203 , กล้องเล็งขนาด 1X-4X , ขาทราย (Bi-pod) ฯลฯ
ที่มา: http://atcloud.com/stories/39824

SW1911 Pro Series



สมิธแอนด์เวสสัน โปรซีรีส์ (SW1911 Pro Series)

 

ปืนพกของกองทัพสหรัฐ โมเดล 1911 ที่บริษัทโคลท์ เป็นเจ้าของสิทธิบัตร ประจำการยาวนาน ผ่านสงครามโลกสองครั้ง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม มาปลดระวางในปี ค.ศ. 1985 กล่าวได้ว่า เป็นปืนทหารที่ใช้งานต่อเนื่องนานที่สุดของโลก จนได้รับการขนานนามว่า “ปืนอมตะ” นอกจากที่ส่งมอบตามสัญญาของรัฐบาลหลายแสนกระบอกแล้ว โคลท์ยังผลิตปืนตามแบบนี้ขายเชิงพาณิชย์อีกจำนวนมหาศาล

ในช่วงที่โคลท์เป็นเจ้าของสิทธิบัตรคู่แข่งร่วมชาติรายสำคัญ คือ สมิธแอนด์เวสสัน  พยายามออกแบบปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติที่แตกต่างจาก 1911 ออกขาย ซึ่งก็ประสบความสำเร็จพอสมควร คือยอดขายไม่แตกต่างกันมากนัก  แต่พอสิทธิบัตรของโคลท์หมดอายุลง ก็เกิดปืน 1911 หน้าใหม่มากมายหลายยี่ห้อ ขายได้ดีในระดับแตกต่างกันไปแล้วแต่กำลังผลิตและตลาดเป้าหมาย ในที่สุด สมิธฯ ก็ต้อง “ตามกระแส” คือขึ้นสายการผลิตปืน SW1911 ควบคู่ไปกับปืน “เก้าลูกดก”ไกดับเบิล/ซิงเกิล ที่ทำอยู่เดิม โดยเริ่มผลิตในปี ค.ศ. 2003

สมิธฯทำ SW 1911 สองความยาวลำกล้อง คือห้านิ้วมาตรฐานเท่ากัฟเวิร์นเม้นท์ (Government) และสั้นสุดสามนิ้ว เท่าดีเฟนเดอร์ (Defender) ที่จัดเป็นระดับ ซับคอมแพ็ค (Sub-compact) มีการตกแต่งหลายรูปแบบ ใช้วัสดุแตกต่างกันให้เลือกได้ ทั้งเหล็กรมดำ เหล็กสเตนเลส และโครงอัลลอย มีที่น่าสังเกตคือ ที่โครงปืนมีคำเตือนว่า ปลดซองกระสุนแล้วยังยิงได้ ทั้งนี้เนื่องจากปืนสมิธฯ ที่ทำขายอยู่เดิมใช้ซองกระสุนเป็นตัวเชื่อมสะพานไก ปลดซองกระสุนแล้วไกปืนไม่ทำงาน ลูกค้าเก่าของสมิธฯ เปลี่ยนมาเล่นปืน 1911 ครั้งแรกอาจคิดว่า ปืนยี่ห้อเดียวกันควรจะทำงานเหมือนกัน จะเกิดอันตรายได้

สำหรับคำว่า โปรซีรีส์ (Pro Series) เป็นการวางตำแหน่งสินค้าให้อยู่ตรงกลางระหว่างปืนที่ผลิตจำนวนมากในสายการ ผลิตปกติ กับปืนจากศูนย์แต่งปืนพิเศษเพิ่มสมรรถนะ (Performance Center)ที่สมิธฯ จ้างช่างฝีมือดีมาให้บริการแต่งปืนตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรษ 1980 สมิธฯ คุยว่าปืนในชุดโปรซีรีส์ คุ้มค่าเงินมากที่สุด คือได้ของคุณภาพเหนือปืนตลาด แต่ราคาถูกกว่าปืนสั่งแต่งพิเศษเกือบครึ่ง

สมิธฯ 1911 โปรซีรีส์ ที่นำเสนอนี้ เป็นตัวซับคอมแพ็ค ลำกล้องสามนิ้ว ทำงานด้วยระบบรีคอยล์ ใช้ห่วงโตงเตงควบคุมท้ายลำกล้องให้กระดกเพื่อขัดกลอนและปลดกลอน ไม่ใช้บูชครอบลำกล้อง เปลี่ยนเป็นลำกล้องหัวโตเบียดพอดีกับลำเลื่อน สปริงลำเลื่อนเป็นแบบสองชั้น มีแกนยาวตลอด ช่องสลัดปลอกเปิดกว้างช่วยให้การทำงานไว้ใจได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นรูปแบบที่ปืน 1911 ลำกล้องสั้นระดับนี้ใช้กันอยู่ สมิธฯ มีความแตกต่างที่เห็นได้คือขอรั้งปลอก เปลี่ยนจากของเดิมที่เป็นแท่งยาวตลอดซ่อนด้านในโดยสอดมาจากท้ายลำเลื่อน  อาศัยตัวขอรั้งเองเป็นสปริงควบคุมแรงตะขอจับจานท้ายกระสุน แบบใหม่ของสมิธฯ ใช้ขอรั้งปลอกเสียบ ประกอบจากด้านนอก มีสลักเป็นจุดหมุน และมีสปริงตัวหนอนคุมแรงตะขอจับจานท้าย ในด้านดีคือตัดปัญหาขอรั้งปลอกแบบเดิมที่ใช้ ๆ ไปแล้ว “ล้า” ไม่มีแรงจับปลอก ในด้านด้อยคือสลักจุดหมุนมีโอกาสเลื่อนหลุดได้

ด้านความแม่นยำ สมิธฯ 1911 ลำกล้องสั้นตัวนี้ จัดว่าแม่นเกินคาด แม้ว่าระยะศูนย์จะสั้น ทำให้ยิงประณีตได้ยาก แต่เมื่อแสงดีเห็นศูนย์ชัด สามารถทำกลุ่มกระสุนระดับฝ่ามือปิดมิดได้ถึงระยะ 20 เมตร หรือแม้ยืดออกไปที่ 25 เมตร ยังรักษากลุ่มอยู่ในวงดำได้สบาย มีข้อสังเกตจากการทดสอบ คือหลังอ่อนของสมิธฯ ทำงานได้ดีมาก ส่วนล่างเพิ่มสันหนุนฝ่ามือ ส่วนบนยื่นคุมหางนกสับช่วยให้จับได้สูง ใกล้แนวลำกล้อง ลดอาการปืนสะบัดอย่างได้ผล

โดยรวม สมิธฯ 1911 โปรซีรีส์ ซับคอมแพ็ค เป็นปืนที่พกซ่อนในเข็มขัดได้อย่างแนบเนียน ใช้กระสุนหน้าตัดใหญ่ไว้ใจได้ ระบบการทำงานเหมือนปืน 1911 ยอดนิยม เหมาะผู้ที่คุ้นเคยกับปืนระบบนี้ เช่นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ อาจใช้เป็นปืนสำรอง สำหรับงานนอกเครื่องแบบ หรือนักกีฬาระบบรณยุทธ์ ที่ใช้ปืนตัวใหญ่มาตรฐานซ้อมยิงเป็นประจำอยู่แล้ว ชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่มาจากโรงงานจัดว่าอยู่ในระดับดีมาก ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน อุปกรณ์เสริมที่แนะนำคือด้ามเลเซอร์ช่วยเล็ง สำหรับใช้งานในสภาพที่มองศูนย์ได้ไม่ชัด.
ข้อมูลของ:ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/article/117526/160514

Colt Defender.45



1911 ตัวเล็กลูกโตขนาด .45 โคลท์ ดีเฟนเดอร์ Colt Defender

ปืนพกกึ่งอัตโนมัติขนาด .45 ของ   โคลท์ ที่บ้านเราเคยเรียกกันว่า “สิบเอ็ด มม.” ปัจจุบันเป็นที่รู้จักในนาม “1911” เนื่องจากปืนรุ่นนี้เมื่อครั้งที่โคลท์ให้กองทัพบกสหรัฐ ทดสอบเปรียบเทียบจนได้รับการบรรจุเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐได้ชื่อเป็นทาง การว่า “Model of 1911” โดยตัวเลขก็คือปี ค.ศ. ที่เข้าประจำการนั่นเอง สหรัฐ ใช้ปืน 1911 มาจนถึงปี ค.ศ. 1985 จึงเปลี่ยนเป็นเบเร็ตต้า ขนาด 9 มม. แทน สิทธิบัตรที่คุ้มครองโคลท์ในการผลิตปืนนี้หมดอายุไปหลายสิบปีแล้ว จึงมีผู้ผลิตอื่น ๆ หลายรายนำแบบไปลอกเลียนเปลี่ยนปรับ ผลิตออกมาสู่ตลาด ใช้ชื่อสามัญแบบเป็นกลางว่า 1911 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “ทรัพย์สินทางปัญญา” เพราะยี่ห้อโคลท์ไม่ได้หมดอายุตามสิทธิบัตรปืน โดยผู้ผลิตหน้าใหม่แต่ละรายใช้ชื่อทางการค้าของตัวเองแตกต่างกันไป

ในทางพาณิชย์ โคลท์ผลิตปืนพกตามแบบปืนทหาร 1911 นี้ ใช้ชื่อว่า “กัฟเวิร์น    เม้นท์” (Government) ออกขายอย่างแพร่หลาย และในปี ค.ศ. 1949 เมื่อทางกองทัพต้องการ ปืนที่เล็กกว่า เบากว่า สำหรับนายทหารผู้ใหญ่ ก็ผลิตรุ่น “คอมมานเดอร์” (Commander)โดยตัดลำกล้องจาก 5 นิ้ว เหลือ 4.25 นิ้ว ใช้โครง อะลูมิเนียมเพื่อลดน้ำหนัก และรุ่นคอมมานเดอร์นี้ ต่อมามีแบบใช้โครงเหล็กให้เลือกเรียกว่า “คอมแบ็ต คอมมาน เดอร์” (Combat Commander) จากนั้นที่สั้นลงไปอีกคือ 3.5 นิ้ว เรียกว่า ออฟฟิเซอร์ (Officer) และสั้นสุด 3 นิ้ว คือ ดีเฟน เดอร์ (Defender) ชื่อรุ่นทั้งสี่ของโคลท์ ถือเป็นเครื่องหมายการค้านะครับ ปืนยี่ห้ออื่นนำไปใช้เรียกชื่อรุ่นไม่ได้ แต่ทางด้านผู้บริโภคด้านใช้อ้างอิงความยาวลำกล้องของปืนในตระกูล 1911 ได้อย่างดี คือพวกที่ลำกล้อง 4.0-4.5 นิ้ว เรียกกว่า “คอมมานเดอร์คลาส” (Commander Class) พวก 3.5 นิ้ว เรียก “ออฟฟิเซอร์คลาส” (Officer Class) และ 3 นิ้วเรียก “ดีเฟนเดอร์คลาส” (Defender Class) ซึ่ง ณ วันนี้ยังไม่มีปืนระบบ 1911 ที่ทำลำกล้องสั้นกว่า 3 นิ้ว

โคลท์ ดีเฟนเดอร์ ตัวเล็กสุดของตระกูลโคลท์ .45 ออโต้ นี้แม้ว่าจะลดความยาวลำกล้องลงมาถึงร้อยละ 40 (จาก 5 นิ้ว เหลือ 3 นิ้ว) แต่ระบบการทำงานยังเป็นแบบรีคอยล์ ลำกล้องกระดกเพื่อปลดกลอน โดยใช้ “ห่วงโตงเตง” ช่วยดึงท้ายลำกล้องลงหลังจากลำกล้องและลำเลื่อนถอยหลังมาด้วยกันระยะหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่ จอห์น เบรานิงก์ ออกแบบไว้กว่าร้อยปีมาแล้ว ส่วนปลายลำกล้องมีการปรับแบบ จากเดิมตัวใหญ่ใช้ปลอกรัดปลายลำกล้องบิดตัวจับกับลำเลื่อนส่วนหน้าพอสั้นลง มาในระดับ 3-3.5 นิ้ว ก็เลิกใช้ปลอกรัดตัวนี้ และลำกล้องและลำเลื่อนที่สั้นลงมาก ทำให้น้ำหนักรวมน้อยลง เมื่อกระสุนลั่นลำเลื่อนจะถอยหลังเร็วกว่า 1911 ขนาดมาตรฐานมาก จำเป็นต้องใช้ชุดสปริงลำเลื่อนแบบสองชั้นซ้อนเพื่อช่วยรับลำเลื่อนไม่ให้ กระแทกโครงแรงเกินไป

จากปืนพกขนาดใหญ่ ตัดลำกล้องสั้นลงมาหยุดที่ 3 นิ้วเป็นปืนพกซ่อน ข้อดีเห็นได้ชัดเจนว่าคล่องตัว พกพาสะดวก ระบบควบคุมการยิงเป็นแบบเดิม ๆ ที่ผู้ใช้ปืน 1911 คุ้นเคย ไกซิงเกิลล้วน ไม่ต้องลากยาวเหมือนปืนกึ่งอัตโนมัติยุคใหม่ ชิ้นส่วนอะไหล่ของชุดลั่นไกใช้ร่วมกับปืนรุ่นใหญ่ได้ และขนาดหน้าตัดกระสุนที่ไว้ใจได้ในด้านอำนาจหยุดยั้ง ทางด้านข้อด้อยก็คือ ลำกล้องสั้นที่สั้นลงมากส่งผลให้มุมกระดกลำกล้องเพื่อปลดกลอนชันกว่าปืนลำ กล้องยาว เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปืน .45 ออโต้ ที่ลำกล้องสั้นระดับดีเฟนเดอร์นี้ ได้ชื่อว่าเป็นปืนจุกจิกต้องทดลองยิงด้วยกระสุนที่ตั้งใจจะใช้จริงให้แน่ใจ ว่าปืนทำงานเต็มร้อยถึงจะไว้ใจได้ ด้ามสั้นลง ถ้ามือใหญ่อาจไม่มีที่พอรับนิ้วก้อย และลำเลื่อนที่สั้นลงมามากทำให้ระยะศูนย์สั้น ไม่เหมาะสำหรับการยิงเป้าประณีต ซึ่งบางท่านอาจจะไม่ถือเป็นข้อด้อย เพราะไม่ใช่ข้อบ่งใช้ของปืนระดับดีเฟนเดอร์อยู่แล้ว

โดยรวม โคลท์ ดีเฟนเดอร์ เหมาะเป็นปืนพกซ่อนสำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับระบบการทำงานของปืน 1911 เช่นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ เป็นต้น อาจใช้เป็นปืนสำรอง หรือพกติดตัวขณะแต่งตัวนอกเครื่องแบบ สามารถใช้กระสุนร่วมกับปืนตัวมาตรฐานได้ และความคุ้นเคยชำนาญที่ฝึกซ้อมด้วยปืนกระบอก ใหญ่ก็ใช้กับกระบอกเล็กได้ด้วย เป็นข้อดีที่ควรพิจารณา เพราะปืนตัวเล็กจะไม่ทนทานสมบุกสมบันเท่าปืนตัวใหญ่มาตรฐาน ถ้าต้องซ้อมจัดด้วยปืนตัวเล็กนี้อาจต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่บ่อยกว่าที่ คาดครับ.
ข้อมูลของ: ผณิศวร ชำนาญเวช
ที่มา: http://www.dailynews.co.th/crime/118607

CZ 2075 RAMI



ตัวเล็กลูกดก 9 มม. พาราฯ ซีแซด รามี :

     ข้อมูลสรุป  CZ 2075 RAMI

ขนาดกระสุน       9 มม. พาราฯ  (9x21 mm.) 
ความจุ     10+1 นัด (มีแม็กฯ 14 นัด)
มิติ    ยาวxสูงxหนา : 165x119x32 มิลลิเมตร
ลำกล้องยาว    76 มม. (3 นิ้ว)
น้ำหนัก    720 กรัม
แรงเหนี่ยวไก    ดับเบิล 5400 กรัม (12 ปอนด์), ซิงเกิล 2000 กรัม (4.4 ปอนด์)
วัสดุ    โครงปืนอลูมินั่มอัลลอยด์, ลำกล้องและลำเลื่อนเหล็ก
อื่นๆ    มีรุ่น BD ใช้คันลดนก และรุ่นสองสีลักษณะใช้งาน    ต่อสู้ระยะใกล้ถึงปานกลาง, พกพาแบบไม่เปิดเผย
ตัวเลือกอื่น    HK P2000 SK,  Beretta PX4 Subcompact  (โครงโพลิเมอร์)

 เมื่อสหภาพโซเวียตถึงกาลล่มสลาย  ประเทศในยุโรปตะวันออกที่เคยอยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบ “centrally-planned econo my” คือรัฐบาลกลางสั่งผลิตสั่งขาย ต่างต้องปรับตัวสู่ระบบตลาดเหมือนชาวโลกเพื่อความอยู่รอด ใครไม่สามารถผลิตสินค้าที่ตลาดต้องการได้ก็อยู่ไม่ได้
 
ปืนซีแซดของสาธารณรัฐเช็ก ได้รับความนิยมต่อเนื่องมานานด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และราคาประหยัดเพราะคิดต้นทุนแบบคอมมูนิสต์เมื่อตลาดเปิดมีโอกาสส่งปืนเข้า ไปขายในสหรัฐที่เป็นตลาดใหญ่สุดสำหรับอาวุธปืน จึงส่งผลให้ ซีแซด เพิ่มยอดขายเป็นกอบเป็นกำขยายงานได้ต่อเนื่องจนเข้าไปซื้อบริษัทและโรงงาน ผลิตในสหรัฐได้
 
เมื่อมีทุนทรัพย์เพิ่มขึ้นซีแซดทุ่มเทออกแบบปืนใหม่ ๆ ตามความต้องการของตลาด ที่เห็นได้ชัดเจนคือปืนพกตระกูล ซีแซด 75 ที่แต่เดิมทำเฉพาะขนาดมาตรฐานทหารลำกล้องยาว 4.75 นิ้ว ได้เพิ่มรุ่น “คอมแพ็ค” (compact) ลำกล้อง 3.8  นิ้ว ทั้งโครงเหล็กและโครงอัลลอยด์ และตามด้วย “ซับคอมแพ็ค” (sub-compact) ลำกล้อง 3 นิ้ว  คือ CZ 2075 RAMI ตัวนี้
 
การลดขนาดตัวปืนโดยตัดลำกล้องให้สั้นลง จากมาตรฐานมาเป็นคอมแพ็ค ทำได้ไม่ยากนัก เช่นปืน 1911 มาตรฐานลำกล้อง 5 นิ้ว ตัดสั้นลงมาเป็นคอมมานเดอร์ ลำกล้อง 4.25 นิ้ว ยังใช้สปริงแบบเดิมได้แต่เมื่อตัดลำกล้องสั้นลงมาอีกถึงระดับ 3.5 นิ้ว และ 3 นิ้ว ต้องเปลี่ยนสปริงต้านลำเลื่อนเป็นแบบสองชั้น  เป็นต้น
 
ปืนซีแซดก็เช่นเดียวกันจาก 75 เป็น 75 คอมแพ็ค กลไกการทำงานแทบไม่ต่างกันทางโรงงานจึงเลือกที่จะเรียกชื่อรุ่นในรหัสตัวเลข เดิม แต่เมื่อจะทำซับคอมแพ็คและต้องการรักษาจุดขายของตน คือระบบการทำงานของไกดับเบิล/ซิงเกิล ที่เข้าห้ามไกโดยนกง้างค้างได้ ไม่ลดนกอัตโนมัติเหมือนคู่แข่งทั้งหลาย  พบว่าออกแบบใหม่ทั้งหมดง่ายกว่าพยายามตัด ๆ ทอน ๆ ของเดิมวิศวกรผู้ออกแบบปืน RAMI คือ Radek Hauerland and Milan Trkulja ซึ่งเป็นที่มาของชื่อรุ่นปืน จากชื่อต้นของทั้งสอง
 
ซีแซดรามี ใช้วัสดุโลหะล้วน โครงปืนเป็นอลูมินั่มอัลลอยด์ลำกล้องและลำเลื่อนเหล็กเคยมีรุ่นโครงโพลิ เมอร์ออกขาย (RAMI-P) แต่เลิกผลิตไปเมื่อปี 2011 นี้เอง  การทำงานเหมือนปืนรุ่นใหญ่ในตระกูลซีแซดทุกประการ เมื่อบรรจุกระสุนขึ้นลำ นกง้าง สามารถเข้าห้ามไกไว้ พกพาแบบ “cocked and locked”  ได้เหมือนปืนไกซิงเกิล หรือถ้าลดนกไว้ก็สามารถเหนี่ยวไกยิงนัดแรกแบบดับเบิลได้เลยโดยซีแซดมีรุ่น RAMI-BD ที่เปลี่ยนคันห้ามไกเป็นคันลดนก สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพกพาแบบนกง้างค้าง ระบบความปลอดภัยภายใน มีสมอกั้นเข็มแทงชนวน จะเดินหน้าถึงท้ายกระสุนได้ต้องเหนี่ยวไก และมีร่องรับนกตก ถ้าเป็นรุ่นปกติหากนิ้วลื่น นกหลุดขณะพยายามลดนกปืนจะไม่ลั่น โดยมีข้อแม้ว่า ต้องคลายนิ้วที่แตะไกออกทันทีที่นกขยับตัว โดยรวมคือมีระบบความปลอดภัยสามจุดเช่นเดียวกับปืนพกมาตรฐานรุ่นใหญ่
 
และเมื่อตั้งใจออกแบบให้ระบบการทำงานเหมือนปืนรุ่นใหญ่แล้วซีแซดจึงแถม ซองกระสุนยาว จุ 14 นัด พร้อมส่วนเสริมด้ามมาให้ด้วย เมื่อใส่ซองกระสุนตัวนี้ จะได้ปืนจุ 14+1 นัด ด้ามยาวเท่ารุ่นคอมแพ็ค ใช้เป็นปืนพกซองนอกได้อย่างดีลำกล้องที่สั้นเหลือ 3 นิ้ว เพิ่มความคล่องตัว แต่อาจลดระยะหวังผลในการยิงประณีตลงมาบ้าง ส่วนในด้านอานุภาพของกระสุน ความเร็วหัวกระสุนต่ำกว่าเมื่อยิงจากปืนรุ่นใหญ่เล็กน้อยแต่ยังแรงกว่า กระสุน .38 สเปเชียลของปืนลูกโม่
 
โดยรวม ซีแซดรามี เป็นปืนพกลูกดกยิงกระสุนมาตรฐาน 9 มม.พาราฯ ที่ตัวเล็กที่สุดในปัจจุบัน (มีเพียง เบเร็ตต้า PX4 ซับคอมแพ็ค ที่ลำกล้องสั้นเท่า รามี แต่ตัวปืนใหญ่กว่า)  ใช้ซองกระสุนสั้นจุ 10 นัดสำหรับงานพกซ่อน หรือเปลี่ยนใช้ซองกระสุนยาว 14 นัด พร้อมส่วนเสริมด้ามให้จับได้เต็มมือเมื่อพกซองนอก ระบบการทำงานแบบ “คลาสสิก” เหมือนซีแซด 75 ง้างนกเข้าห้ามไกได้ หรือลดนกไว้ก็สามารถเหนี่ยวไกยิงนัดแรกแบบดับเบิลได้เลย ความแม่นยำจัดว่าดีมากสำหรับปืนตัวเล็ก และจากการออกแบบให้โครงปืนหุ้มลำเลื่อน จึงมีคำเตือนเหมือน ซีแซด 75 คือ ผิวลำเลื่อนให้จับดึงขึ้นลำมีจำกัด  ต้องฝึกให้คุ้น.

 ขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.dailynews.co.th/article/117526/153845